วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

ดนตรีคลาสสิก (Classical Music) ประวัติและความเป็นมา Part 2

  วงซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra) ในปัจจุบันซึ่งวิวัฒนาการมาจากศตวรรษที่ 18 มีลักษณะโครงสร้างทั่ว ๆไปดังแผนภาพดังนี้ 

1. วาทยากรผู้ควบคุมวง (Conductor) ผู้กำกับวงดนตรีออร์เคสตร้าหรือวงนักร้องหมู่ ซึ่งเป็นผู้ชี้บอกจังหวะและระยะเวลาในการบรรเลงดนตรี

2. ไวโอลินลำดับที่ 1 - First violin (นักไวโอลินที่นั่งใกล้วาทยากรคือหัวหน้าวงดนตรีหรือ Concert Master ตำแหน่งของนักไวโอลินลำดับที่ 1 จำเป็นจะต้องอยู่ใกล้วาทยากรให้มากที่สุด ตำแหน่งเครื่องเป่าและแตรปกติจะอยู่ระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ ของเครื่องสาย)

3. ไวโอลินลำดับที่ 2 - Second violin 

4. เชลโล่ - Cello 

5. วิโอล่า - Viola 

6. ดับเบิลเบส - Double bass 

7. อิงลิช ฮอร์น - English horn 

8. โอโบ - Oboe 

9. ฟลูต - Flute 

10. เบส คลาริเนต - Bass clarinet 

11. คลาริเนต - Clarinet 

12. บาสซูน - Bassoon 

13. คอนทรา บาสซูน - Contra Bassoon 

14. เฟรนช์ฮอร์น - French Horn 

15. แซกโซโฟน - Saxophone

17. ทูบา - Tuba

18. ทรอมโบน - Trombone

19. ทรัมเปต - Trumpet

20. เปียโนหรือฮาร์พ Piano, Harp

21. ทิมปานี - Timpani [(ตำแหน่งเครื่องดนตรีที่อยู่ห่างวาทยากรที่สุดคือ กลุ่มของเครื่องดนตรีประเภทตี - Percussion)

22. ฉาบ - Cymbal

23. เบส ดรัม - Bass Drum

24. ไทรแองเกิ้ล - Triangle 

25. กลอง - side หรือ Snare Drum

26. Tubular Bells - ระฆังราว

27.ไซโลโฟน - Xylophone ระนาดฝรั่ง ในบางกรณีที่แสดงเปียโนคอนแชร์โต้ ตำแหน่งของเปียโนจะถูกผลักมาอยู่ข้างหน้า 

Chamber music คือดนตรีสำหรับการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี โดยนักดนตรีแต่ละคนจะมีแนวบรรเลงของตนเองต่างจากคนอื่น ๆ ไม่เหมือนกับวงดนตรีสำหรับวงดนตรีออร์เคสตร้า ที่มักจะมีนักดนตรีหลายคนต่อแนวบรรเลงหนึ่งแนว ดนตรีแชมเบอร์มิวสิคนี้ เรียกตามจำนวนคนที่เล่นดังนี้

DUET: สำหรับผู้เล่น 2 คน 
TRIO: สำหรับผู้เล่น 3 คน
QUARTET: สำหรับผู้เล่น 4 คน 
QUINTET: สำหรับผู้เล่น 5 คน
SEXTET: สำหรับผู้เล่น 6 คน 
SEPTET: สำหรับผู้เล่น 7 คน
OCTET: สำหรับผู้เล่น 8 คน 
NONET: สำหรับผู้เล่น 9 คน

String Quartet เป็นคีตลักษณ์แบบ Chamber music ที่สำคัญ ประกอบด้วยผู้เล่นไวโอลิน 2 คน วิโอลาและเชลโลอย่างละ 1 คน สำหรับ String trio นั้นจะประกอบด้วยเครื่องสายล้วน ๆ 3 เครื่อง และหากตัดเครื่องดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่งออกไปแล้วเพิ่มเปียโนเข้าไป 1 หลังจะเรียกว่า Piano trio หรือหากเพิ่มฮอร์นเข้าไปแทน เรียกว่า Horn trio เป็นต้น

(บทความจากหนังสือดนตรีคลาสสิก)

  ศัพท์ดนตรีที่น่ารู้ 

Accent เน้น

Piano เบา

Pianissimo เบามาก

Pianississimo เบามากและอ่อนโยน

Forte ดัง

Fortissimo ดังมาก

Fortississimo ดังเท่าที่จะทำได้

Forzando เล่นด้วยความแรงแล้วค่อยๆ ผ่อนเบาลง

Sforzando แรงแบบกระแทกแล้วค่อยๆ ผ่อนเบาลง โดยความตั้งใจที่จะแสดงถึงความเชี่ยวชาญในการแสดงดนตรีชิ้นนั้น

Mezzo piano ค่อนข้างจะเบา

Mezzo forte ดังพอสมควร

Rallentando, Ritenuto ค่อย ๆ ผ่อนจังหวะให้ช้าลง

Introduction บทนำของเพลง

Pause เรียกว่า “ศูนย์” หมายถึงจังหวะเสียงยามตามความพอใจ

Coda ลงจบของบทเพลง

Fine จบบทเพลง

Cantata บทดนตรีที่มีการร้องเดี่ยวและหมู่

A tempo กลับไปใช้จังหวะเดิม

Cadenza บทบรรเลงเดี่ยวที่ผู้ประพันธ์เขียนขึ้น

Concerto บทประพันธ์ดนตรีที่แสดงความสามารถของผู้เล่นเครื่องดนตรีเดี่ยวและวงออร์เคสต้า ซึ่งมีลักษณะของการเล่นรับสลับกันบางครั้งก็เป็นการแสดงเดี่ยวเครื่องดนตรีหลายชิ้น เช่น คอนแชร์โต้สำหรับไวโอลิน 2 คัน

Mass ดนตรีที่จัดไว้สำหรับพิธีทางศาสนาโรมันคาทอลิก

Opus ผลงานลำดับที่ เป็นคำมาจากภาษาละตินแปลว่า “ผลงาน” Opus ตามด้วยหมายเลขซึ่งแสดงลำดับผลงานของคีตกวีที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ เช่น Beethoven: in A flat major opus 1 หรือ op. 1 หมายถึงผลงานชิ้นที่ 1 ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ และถ้ามีชิ้นย่อยลงไปอีกก็ใช้ no. หรือ number เช่น opus.40, no. 2 เป็นต้น

Crescendo การเพิ่มจากเสียงเบาไปหาดัง

Diminuendo ทำเสียงลดลงทีละน้อย

Symphony บทประพันธ์ดนตรีลักษณะเดียวกับ sonata ที่ประกอบด้วย 4 ท่อน หรือมากกว่านั้นแต่ใช้วงออร์เคสต้าบรรเลงเต็มวง

Solo เดี่ยว เช่น violin solo หมายถึงการเดี่ยวไวโอลิน

Sonata บทประพันธ์ดนตรีที่ประกอบด้วยหลายท่อนหรือกระบวนที่แตกต่างกัน ซึ่งทั่วไปประกอบด้วย 4 ท่อน ท่อนที่ 1. An allegro มีชีวิตชีวา ท่อนที่ 2. A slow movement เป็นท่อนที่ช้า ท่อนที่ 3. A scherzo มีความรื่นเริงสบาย ๆ ท่อนที่ 4. An allegro มีชีวิตชีวา

ต่อไปนี้เป็นศัพท์ดนตรีบอกความช้าเร็วของจังหวะ ซึ่งมักจะปรากฎทั่วไปในแผ่นเสียง คำบรรยายเพลงทุกชนิด และต้นฉบับ มีประโยชน์สำหรับบอกแนวทางคร่าว ๆ ให้ทราบถึงบรรยากาศของเพลง

จังหวะทั่ว ๆ ไป แบ่งออกเป็น 3 พวก # ช้า - ปานกลาง - เร็ว

จำพวกช้าแบ่งออกเป็น 

Lento ช้ามากที่สุดในจำพวกช้าด้วยกัน

Largo ช้ามากที่สุดเหมือนกัน แต่ไม่ช้าเท่า Lento

Larghetto ช้ารองลงมาจาก Largo

Adagio ช้ามาก

Andante ช้าพอประมาณ

Andantino ช้าพอประมาณ แต่เร็วกว่า Andante หรือเร็วที่สุดในจำพวกช้าทั้งหมดนี้

จำพวกปานกลางมีอย่างเดียวคือ 

Moderato ปานกลางธรรมดา

จำพวกเร็วแบ่งออกเป็น 

Allegretto เร็วพอสมควร

Allegro เร็ว

Vivace เร็วอย่างร่าเริง (เล่นแบบกระตุกๆ)

Presto เร็วมาก

Prestissimo เร็วจี๋

ศัพท์ต่อไปนี้แสดงถึงความรู้สึกของจังหวะทำนอง 

Grave อย่างโศกเศร้า

Maestoso อย่างสง่าผ่าเผย องอาจ

Tempo giusto ธรรมดา - ปานกลาง

Agitato อย่างร้อนรนตื่นเต้น

Mosso อย่างว่องไว

Con moto อย่างกระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา 

  “ …. การจะหาความสำราญจากเพลงดี ๆ สักเพลงหนึ่งนั้น ท่านไม่จำเป็นต้องไปรู้ถึงชีวิตของนักแต่งเพลง หรือรู้เบื้องหลังของการแต่งเพลง หรือวันที่ หรือเลขหมาย โอปุส บันไดเสียง หรือความรู้ททางเทคนิคอื่น ๆ เลย….”

ซิกมัน เสปธ

  กำเนิดวงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวง กระทรวงวัง 
เรื่องราวของครูเพลงในยุคต่อๆ มาแต่ละคน แต่ละรุ่นนั้น ล้วนมีแหล่งกำเนิด ความรู้ ความชำนาญด้านดนตรีสากล มาจาก พระเจนดุริยางค์ ผู้ฝึกสอน ผู้ดูแล วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวง หรือ วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร แทบทั้งสิ้น
จึงขอนำเอาเรื่องราวของ วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวง มาเล่าสู่กันฟังโดยสังเขป ดังนี้คือ

พระบาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชประสงค์ จะให้มีกิจการดนตรีสากลขึ้นในประเทศสยาม โดยมุ่งหวังให้ชาวไทย ได้รับรู้และสัมผัสกับดนตรีตะวันตก ตามแบบอย่างอริยะประเทศทั้งหลาย

ในปีพ.ศ 2455 ได้ทรงสถาปนาวงดนตรี เครื่องสายฝรั่งหลวง ขึ้นสังกัด กรมมหรสพ กระทรวงวัง โดยว่าจ้างครูฝรั่งชาวอิตาเลียนมาเป็นครูฝึกสอน นักดนตรีส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นนักดนตรีไทย สังกัดวงปี่พาทย์หลวงด้วยกันทั้งสิ้น การฝึกหัดจึงไม่สู้ได้ผล เพราะนักดนตรีแต่ละคนล้วนแล้วแต่สูงอายุ และไม่สันทัดกับเครื่องดนตรีตะวันตก

อุปสรรคที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การสื่อความ เพราะครูผู้ฝึกสอนพูดภาษาไทยไม่ได้ นักดนตรีก็พูดและฟังภาษาต่างประเทศไม่ได้อีกเช่นกัน จำเป็นต้องอาศัยล่ามแปล ส่วนล่ามเองนั้น ก็มีพื้นฐานความรู้ด้านดนตรีน้อยมาก ปัญหาจึงเกิดขึ้นมากมายตลอดมา

เมื่อลุเข้าปีพ.ศ. 2457 ครูผู้ฝึกสอน จำเป็นต้องเดินทางกลับมาตุภูมิ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวงวงนี้จึงขาดครูผู้สอน เกิดความระส่ำระส่าย และค่อยๆ ทรุดโทรมลงไปทุกขณะ ผู้บัญชาการ กรมมหรสพ จึงได้กราบบังคมทูล ให้ยุบวงลงเสีย

แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสียดายที่จะยุบเลิกวงตามคำกราบบังคมทูล เพราะเป็นวงที่ทรงสถาปนาด้วยพระองค์เอง จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ ขุนเจนรถรัฐ ซึ่งรับราชการอยู่กรมรถไฟหลวง และเป็นผู้มีความรู้และความชำนาญด้านการดนตรีสากล เนื่องจากได้เข้าร่วมกับวงดนตรีต่างประเทศอยู่เสมอๆ ให้มารับผิดชอบ ดูแลและฟื้นฟู วงดนตรีสากลวงนี้ต่อไปให้ได้

ขุนเจนรถรัฐ ได้เข้ามารับราชการที่ วงเครื่องสายฝรั่งหลวง เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2460 ในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดกรม มีหน้าที่ฝึกสอนและปรับปรุงวงดนตรีนี้เพียงอย่างเดียว

ขุนเจนรถรัฐ หรือ พระเจนดุริยางค์ได้ปรับปรุงแนวทางของวงดนตรีวงนี้ ให้ถูกต้องตามแบบของดุริยางค์สากล และทำการฝึกซ้อมอย่างขะมักเขม้น จนมีสมรรถภาพดีขึ้นทันตาเห็น และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงเจนดุริยางค์ ในเวลาต่อมา

ในชั่วเวลาเพียง 3 ปีต่อมา วงดนตรีวงนี้ก็สามารถบรรเลงเพลงไล้ท์มิวสิก และเพลงคลาสสิกได้ เช่น Symphonic Suite; Symphonic Poem เป็นที่พอพระราชหฤทัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวเป็นมากนัก

จึงโปรดเกล้าฯ ให้เปิดการแสดง Symphonic Concert สำหรับประชาชนขึ้น ณ โรงละครหลวงสวนมิสกวันและที่ศาลาสหทัย สถานกาแฟนรสิงห์ เป็นประจำทุกสัปดาห์ จนหนังสือพิมพ์ภาษาต่างประเทศเสนอข่าวว่า เป็นวงดนตรีที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออก

หลวงเจนดุริยางค์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระเจนดุริยางค์

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวงก็ถูกโอนย้ายไปสังกัดกรมศิลปากร เรียกชื่อว่า "วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร"

วงดนตรีเครื่องสายฝรั่งหลวง หรือ วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากรนี้ เป็นแหล่งกำเนิดนัดนตรีสากลเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งต่อมากลายเป็นครูเพลงผู้แต่งทำนองคำร้อง เป็นหัวหน้าวงดนตรี เป็นนักดนตรีที่สืบสาน และวิวัฒนาการทางดนตรีสืบต่อกันเรื่อยมา อาทิเช่น ครูนารถ ถาวรบุตร ผู้ควบคุมวงดนตรี

http://manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9470000022171



  Etude (เอ - ทู้ด) 

Etude เป็นคำในภาษาฝรั่งเศสมาจากคำในภาษาฝรั่งเศสโบราณคือ Estudie ตรงกับความหมายในภาษาอังกฤษคือ Study ความหมายคือ
1. เป็นเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อพัฒนาเทคนิคใดเทคนิคหนึ่งโดยเฉพาะ
2. เป็นเพลงที่เน้นเทคนิคใดเทคนิคหนึ่ง ที่นิยมนำมาบรรเลงเพราะความไพเราะของมัน
3. บทเพลงสั้นๆ โดยปกติแล้วจะเขียนขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาด้านดนตรี
4. บทเพลงสั้นๆ ที่แต่งสำหรับงานบรรเลงเดี่ยว เพื่อใช้เป็นแบบฝึกหัดสำหรับฝึกทักษะและความชำนาญ
5. บทเพลงบทสั้นๆ โดยปกติแล้วจะแต่งสำหรับเปียโน นิยมใช้เพื่อสอนนักดนตรีในเทคนิคที่มักจะมีปัญหาในการเล่น เช่น สเกล (Scale) หรือการรัว (Trill) บทประพันธ์แบบ Etude เกิดขึ้นหลังการประพันธ์แบบ Toccata ได้รับความนิยมมากในยุคบาโร้ค Etude ได้รับการพัฒนารูปแบบโดยคีตกวีคนสำคัญคือ Frederic Chopin และ Franz Liszt
  Franz Schubert: String Quartet No. 14 in D minor 

ผลงาน String Quartet No. 14 in D minor เขียนขึ้นในปี 1824 โดย Franz Schubert หลังจากที่เขารู้ตัวว่าเริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพ เพลงนี้เป็นที่รู้จักกันดีในอีกชื่อหนึ่งคือ “The Death and the Maiden Quartet” เพราะในกระบวนที่สองดัดแปลงมาจากทำนองเปียโนประกอบเพลง (Song หรือ Lied) ที่เขาแต่งขึ้นในปี 1817 ซึ่งเพลงนั้นมีชื่อว่า Death and the Maiden ในผลงานเพลงควอเต็ทจำนวนมากที่เขาแต่งขึ้น เพลงนี้คือ String Quartet No.14 และจัดอยู่ในลำดับ D. 810 ตามระบบของ Erich Deutsch ที่จัดเรียบเรียงหมวดหมู่เพลงของ Schubert ผลงานชิ้นนี้คือ String Quartet ที่แบ่งออกเป็นสี่กระบวน

Allegro, in D minor ในอัตราจังหวะปกติ
Andante con moto, in G minor อยู่ในอัตราจังหวะ 2/2
Scherzo: Allegro molto, in D minor อยู่ในอัตราจังหวะ 3/4
Presto, in D minor อยู่ในอัตราจังหวะ 6/8

ในกระบวนแรกของเพลง รวมทั้ง String Quartet ที่แต่งขึ้นก่อนหน้า (String Quartet No. 13 in A minor, D 804) และแต่งขึ้นถัดจากเพลงนี้ (String Quartet No. 15 in G, Op. 161, D 887) และ String quintet (String Quintet in C, D 956) ของเขา ถือเป็นผลงาน Chamber music ที่มีความยาวและรายละเอียดมากที่สุดในบรรดา String Quartet ที่เขาแต่งขึ้นทั้งหมด แม้ว่าจะแค่บางส่วนของเพลงก็ตาม เเพลงนี้อยู่ในฉันทลักษณ์แบบ Sonata form ที่ประพันธ์ขึ้นใน 3 บันไดเสียงหลักคือ D minor, F major และ A minor

กระบวนที่สองคือทำนองหลัก (Theme) ดัดแปลงมาจากเพลงที่เกี่ยวกับความาตายของเขาที่ชื่อ Der Tod und das Madchen (D 531 การจัดระบบเพลงของ Schubert ตามแบบเยอรมัน) และทำนองแปรเปลี่ยน 5 ทำนอง และท่อนจบของกระบวน (Coda)

ทำนองหลักของกระบวนที่สามสามารถได้ยินผ่านทำนองชุดเพลงเต้นรำของเปียโน แต่งขึ้นในแบบ Trio ในบันไดเสียง D major และการซ้ำของท่วงทำนองหลัก

ท่วงทำนองเพลงเต้นรำ Tarantella (ทำนองเพลงเต้นรำพื้นเมืองทางตอนใต้ของอิตาลี โดยปกติจะอยู่ในจังหวะ 6/8, 18/8 หรือ 4/4) ในกระบวนสุดท้ายอยู่ในฉันทลักษณ์แบบ Sonata-rondo ท่วงทำนอง Rondo ที่ปรากฎขึ้นในช่วงแรกจะวนกลับมาในตอนท้าย ส่วนในช่วงกลางเป็นการพัฒนาทำนอง ส่วนท่อนจบของกระบวน (Coda) อยู่ในบันไดเสียงเมเจอร์ที่แสดงถึงชัยชนะและการไขว่คว้า

ในปี 1878 Robert Franz คีตกวีชาวเยอรมันได้ดัดแปลง String Quartet บทนี้เป็น Piano duet และนี่คือหนึ่งในบทประพันธ์ String Quartet คู่กับบทประพันธ์ String Quartet No. 11 in F minor (Quartetto serioso) ของ Beethoven ซึ่ง Mahler นำมาเรียบเรียงใหม่สำหรับวงออร์เคสตร้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้วิธีการทวีคูณภาคของเชลโลบางส่วนด้วยดับเบิ้ลเบส

ในปี 1930 คีตวกีชาวอังกฤษ John Fouldsได้เรียบเรียงเพลงนี้ขึ้นใหม่สำหรับออร์เคสตร้าต็มวง ในช่วงทศวรรษที่1990 คีตวกีชาวอเมริกัน Andy Stein ได้เรียบเรียงเพลงนี้ขึ้นใหม่ในฉบับ "Symphony in D minor, Death and the Maiden" สำหรับบรรเลงด้วยออร์เคสตร้าเต็มวง นำออกแสดงโดยวง St. Paul Chamber Orchestra, Buffalo Philharmonic รวมทั้งวงอื่นๆ อีกหลายวง ส่วนการบันทึกเสียงเพลงนี้ในฉบับของ Andy Stein ถูกนำมาผลิตออกจำหน่ายโดยบริษัทแผ่นเสียง Naxos Records เมื่อเดือนมีนาคม ปี2009

ดนตรีคลาสสิก (Classical Music) ประวัติและความเป็นมา Part 1

 ดนตรีคลาสสิก (Classical Music) ประวัติและความเป็นมา 
ศิลปการดนตรีมีวิวัฒนาการควบคู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านานเช่นเดียวกับงานสถาปัตยกรรม การดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมไปตามยุคต่างๆตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ในยุคกรีกและโรมัน การดนตรีสอดแทรกอยู่ในงานเฉลิมฉลองต่างๆและกิจการทางศาสนา โดยเริ่มมีการใช้ตัวหนังสือแทนโน้ตดนตรี ในศตวรรษที่ 5 เมื่ออาณาจักรเอมไพร์ล่มสลายลง ทำให้เป็นช่วงเวลาแห่งยุคมืด (Dark Age) ศิลปะแขนงต่าง ๆ รวมทั้งดนตรีก็เสื่อมลง จนกระทั่งถึงยุคกลาง (Middle Age) อันเป็นช่วงต่อระหว่างยุคมืดและยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance) การดนตรีได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นอีก 

ในศตวรรษที่ 6 ผู้คนเริ่มเบื่อหน่ายดนตรีที่มีความซ้ำซาก ขาดความกลมกลืน อีกทั้งไม่มีเมโลดี้ที่ชัดเจน ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในวงการดนตรีขึ้น เริ่มจากการขับร้องที่มีตัวโน้ตพร้อมกัน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นการร้องเพลงประสานเสียง 

ดนตรีคลาสสิกตะวันตกแบ่งออกเป็นยุคสมัยตามไสตล์และปรัชญาความคิดทางดนตรีที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งนี้แบ่งออกเป็นยุคสมัยต่าง ๆ ดังนี้: ยุคกลาง (Middle Age ค.ศ. 500-1400) ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance ค.ศ. 1400-1600) ยุคบาโร้ค (Baroque ค.ศ. 1600-1750) ยุคโรแมนติก (Romantic ค.ศ. 1825-1910) และยุคศตวรรษที่ 20 (Twentieth Century ค.ศ. 1910- ปัจจุบัน)

การรื้อฟื้นศิลปการดนตรี ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในยุคกลางนี้เอง แต่เครื่องดนตรีต่าง ๆ ก็ยังพัฒนาไปไม่ถึงขั้นเป็นดนตรีออร์เคสตร้า เนื่องจากเครื่องดนตรีสมัยนั้นยังล้าสมัยอยู่มากเช่นทรัมเปตไม่มีลิ้น เครื่องเป่ายังมีเสียงไม่ครบ เครื่องสีวีโอลยังมีจุดอ่อนในเรื่องโทนเสียง เป็นต้น ซึ่งได้ใช้เวลาในการพัฒนามาจนถึงศตวรรษที่ 17 เครื่องดนตรีในยุคนั้นได้แก่ ลูท (Lute) ฮาร์พ (Harp) ไพพ์ (Pipe) โอโบ (Oboe) ซึ่งเราจะพบว่าเป็นเครื่องดนตรีของพวกมินเสตร็ล (Minstrel) และทรอบาดอร์ (Trobadour) ที่ใช้ประกอบการขับร้อง และเดินทางท่องเที่ยวไปยังปราสาทต่าง ๆ วิวัฒนาการของดนตรีพวกมินสเตร็ลได้พัฒนาการไปจนสิ้นสุดยุคกลาง และบางเพลงก็ยังมีปราฎอยู่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ 

ศตวรรษที่ 15 การดนตรีได้เริ่มเบ่งบานขึ้นด้วยการทำงานอย่างหนักของนักดนตรี 3 ท่านคือ พาเลสตริน่า (Giovanni Palestrina 1525-1594) ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งดนตรีสมัยใหม่ (The Father of Modern Music) ลาสซุส (Orland Lassus) และไบร์ด (William Byrd) ท่านทั้ง 3 นี้เป็นผู้เปิดประตูของศิลปการดนตรีจากยุคกลางไปสู่ยุคเรอเนสซองส์ อันเป็นยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการทุกแขนง ในยุคนี้งานดนตรีเริ่มมีกฎเกณฑ์ในงานประพันธ์บทเพลงมากขึ้นรวมทั้งเพลงร้องในโบสถ์จำนวนนับร้อยและมอตเต็ตอีกจำนวน 600 เพลงซึ่งทำให้ท่านได้รับการขนานนามว่า บิดาแห่งดนตรีสมัยใหม่ 

อุปรากร หรือ (Opera) ได้ถือกำเนิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 16 ณ เมืองฟลอเรนซ์ (Florence หรือ Firence) ประเทศอิตาลี และได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดสูงสุดที่กรุงเวียนนา (Vienna)ประเทศออสเตรียโดยคีตกวีกลุ๊ค (Gluck) และโมสาร์ท (Wolfgang Amadeus MoZart) ในปลายศตวรรษที่ 18 และช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อุปรากรได้รับการพัฒนาต่อมาอีกอย่างรุ่งเรืองโดยคีตกวีที่มีชื่อเสียงได้แก่ เบลลีนี่ (Belini) โดนีเซตติ (donizetti) รอสซินี่ (Rossini)แวร์ดี้ (Verdi) ปุชชินี่ (Puccini) เป็นต้น

ดนตรีคลาสสิก (Classical Music) ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 17 และต่อเนื่องมาจนถึงต้นศตวรรษที่ 18 โดยมีศิลปินอิตาเลี่ยนเป็นผู้นำ ท่านเหล่านี้ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการดนตรีให้เข้าสู่ชีวิตจิตใจชาวยุโรปอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีเมืองที่เป็นแหล่งกำเนิดของงานดนตรีนี้ได้แก่ โรม เนเปิล ฟลอเรนซ์ อิทธิพลงานศิลปะการดนตรีของอิตาลีได้แผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางสู่ยุโรปตะวันตก ส่วนทางซีกตะวันออกนั้นกรุงเวียนนาเป็นศูนย์รวมที่สำคัญทางดนตรี โดยมีนักดนตรีชาวอิตาเลี่ยนที่สำคัญได้แก่ ซิมาโรซ่า เพสซิชิลโล กัลลูปปี้ ซึ่งเดินทางเข้าไปทำงานที่นครเวียนนา เวียนนาจึงเป็นศูนย์กลางของดนตรีคลาสสิกและมีความรุ่งเรืองติดต่อกันมาถึง 200 ปี ดนตรีคลาสสิกจัดได้ว่าเป็นศิลปะการดนตรีแห่งยุคที่ดนตรีได้รับการพัฒนามาถึงจุดสูงสุดทั้งการประพันธ์และเครื่องดนตรี อาทิ ออร์แกน เปียโน และเครื่องดนตรีของตระกูลไวโอลิน เป็นต้น อันเป็นผลมาจากการการฟื้นฟูศิลปะการดนตรีจากยุคเรอเนสซองส์

  ภาพวาดนักดนตรีมินเสตร็ล (Minstrel)

 ยุคคลาสสิก นักดนตรีและคีตกวีที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงหลายท่านได้หลั่งไหลเข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงเวียนนา อาทิเช่น กลุ๊ค (Gluck) ไฮเดิ้น (Haydn) โมสาร์ท (Mozart) บีโธเฟ่น (Beethoven) ชูเบิร์ท (Schubert) บราหมส์ (Brahms) สเตราส์ (Struass) บรู๊คเนอร์ ( Bruckner) วูล์ฟ (Wolf ) มาห์เลอร์ (Mahler) เชินเบอร์ก(Shoenberg) เวเบิร์น (Webern) เป็นต้น ศิลปินเหล่านี้เป็นผู้มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์การดนตรีในยุคคลาสสิกเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้แล้วกรุงเวียนนายังเป็นศูนย์รวมของศิลปินท่านอื่นๆ อีกมากมายจนแทบไม่น่าเชื่อว่าจะมีนครใดในโลกที่เต็มเปี่ยมไปด้วยอัจฉริยะทางดนตรีเช่นนครแห่งนี้อีกแล้ว ในยุคนี้การดนตรีได้กลายเป็นชีวิตจิตใจของชาวยุโรป นักดนตรีและคีตกวีได้รับการสนับสนุนและชุบเลี้ยงจากราชสำนัก ศิลปะการดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงส่ง และมรดกที่ที่ได้รับสืบทอดมาจากยุคนี้คือ ซิมโฟนี (Symphony) ซึ่งเป็นดนตรีที่คีตกวีประพันธ์ขึ้นมาอย่างมีกฎเกณฑ์และแบบแผนเช่นเดียวกับดนตรีอุปรากร (Opera)และโซนาต้า (Sonata) โซนาต้าและซิมโฟนี่แห่งยุคคลาสสิก

โซนาต้าในยุคนี้ได้ถูกนำมาดัดแปลงให้มีความหมายแตกต่างออกไปจากศตวรรษที่แล้ว โดยหมายถึงการบรรเลงเดี่ยวด้วยเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียวหรือสองชิ้น เช่น Sonata for Violin หมายถึงการบรรเลงเดี่ยวไวโอลิน Piano Sonata หมายถึงการบรรเลงเดี่ยวเปียโน หรือ Sonata for String Quartet หมายถึง การบรรเลงด้วยเครื่องสาย 4 ชิ้น เป็นต้น แต่โครงสร้างของบทเพลงโซนาต้าหรือ นั้นเป็นแบบอย่างเดียวกับบทเพลงซิมโฟนี่ดังนี้คือ บทเพลงซิมโฟนี่ประกอบด้วย 4 ท่อนหรือ Movement แต่บางครั้งอาจมีความยาวกว่า 4 ท่อนก็ได้

โดยทั่วไปนั้น ท่อนที่ 1(First Movement) เป็นบทนำของเพลงมักมีความยาวมากที่สุด อาจมีลีลาที่ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์ ท่อนที่ 2 (Second Movement) โดยทั่วไปจะเป็นท่วงทำนองที่ช้าเป็นการพัฒนา ธีม (Theme) หรือเนื้อหาหลักของเพลงจากท่อนแรก ท่อนที่ 3 (Third Movement) เป็นลีลาที่ไพเราะผ่อนคลายหรรษาไปตามบทเพลงที่เรียกว่า มินูเอ็ท (Minuet) ท่อนที่ 4 (Fourth Movement) มักจะมีท่วงทำนองที่เร็วและมีสาระของเพลงน้อยกว่าท่อนอื่น บางครั้งก็จะเป็นลีลาที่ผันแปรมาจากท่วงทำนองหลักหรือ ธีม ของเพลงเป็นต้น ซิมโฟนีเป็นบทประพันธ์ดนตรีที่มีความไพเราะและยิ่งใหญ่ สามารถใช้ทดสอบความสามารถและความคิดริเริ่มของคีตกวีแต่ละท่านได้เป็นอย่างดี ดนตรีแห่งยุคคลาสสิกมีความรุ่งเรืองสูงส่ง ซึ่งเราจะสังเกตได้จากวงดนตรีออร์เคสตร้าที่มีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยเครื่องดนตรีกว่า 100 ชิ้นและวาทยกร (Conductor) 1 คน การจัดจำแหน่งของเครื่องดนตรีต่าง ๆ และนักดนตรีขึ้นอยู่กับวาทยากรแต่ละท่าน วงซิมโฟนีได้ถือกำเนิดครั้งแรกในยุคคลาสสิกนี้เอง และได้รับการพัฒนาต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

ด้วยความรุ่งเรืองทางดนตรีแห่งยุคนี้ จึงไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่า เหตุใดดนตรีคลาสสิกจึงยังคงเป็นที่นิยมอยู่จนทุกวันนี้ จนเรียกได้ว่าเป็นดนตรีอมตะ หาดแต่วิวัฒนาการศิลปะการดนตรีมิได้หยุดอยู่เพียงนี้ ศิลปินได้พยายามแสวงหาแนวทางของศิลปะใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ดนตรีก็เช่นกัน จากยุค คลาสสิก ต่อมาจนถึง โรแมนติก (Romantic) ซึ่งการดนตรียังไม่มีแนวทางต่างกันมากนัก นักดนตรีในยุคโรแมนติกที่มีชื่อเสียง 4 ท่านได้แก่ เมนเดลโซน (Felix Mendelsohn) โชแปง (Federic Chopin) ชูมานน์ (Robert Schumann) ลิซท์ ( Franz Liszt)

ยุคโรแมนติก ได้เริ่มขึ้นเมื่อแนวทางดนตรีเริ่มละทิ้งแบบแผนของคลาสสิก นับจากบทประพันธ์อันยิ่งใหญ่ เช่น “Spring Sonata “ ของโมสาร์ท ดนตรีแห่งยุคโรแมนติกได้หันเหแนวของดนตรีมาสู่แนวทางแห่ง ดนตรีชาตินิยม (Nationalism) โดยใช้เสียงดนตรีแบบพื้นเมือง นอกจากนี้แล้วอิทธิพลทางการเมืองมีส่วนทำให้การดนตรีหันเหไป นับแต่การปฏิวัติในฝรั่งเศส การปฏิวัติในอเมริกา สงครามนโปเลียน เป็นต้น บทเพลง “ The Polonaise “ ของโชแปงก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่งในแบบอย่างของดนตรีแนว Nationalism นอกจากนี้แล้วในยุคโรแมนติกก็ยังเป็นช่วงเวลาก่อกำเนิดคีตกวีและนักดนตรีอีกหลายท่าน อาทิเช่น ปากานินี่ (Nicolo Paganini) ว้ากเนอร์
(Richard Wagner) แวร์ดี้ (Giusseppe Verdi) นอกจากนี้ประเทศรัสเซียก็ยังมีคีตกวีเอกอีกหลายท่านเช่น ไชคอฟสกี้ (Tchaikovsky) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นราชาแห่งบัลเลต์ รวมถึงผลงานอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ อุปรากร 10 เรื่อง ซิมโฟนี่ 6 บท บัลเลต์ 3 เรื่อง ที่รู้จักกันดี ได้แก่ Nutcracker, Swan Lake, Sleeping Beauty และบทเพลงที่มีชื่อเสียงมากอีกบทคือ 1812 Overture ต่อมาในปลายศตวรรษที่ 19 ก็มีอัจฉริยะทางดนตรีอีก 3 ท่านคือ บราหมส์ มาห์เลอร์ และบรู๊คเนอร์ ซึ่งล้วนอยู่ในแนวทางแห่ง Nationalism ทั้งสิ้น

 Frederic Chopin (1810-1849) คีตกวีคนสำคัญของยุคโรแมนติก

 เทคโนโลยี่ในศตวรรษที่ 19 ยังเป็นสิ่งที่ไม่ก้าวหน้าไปจากเดิมเท่าใดนัก เรามีนาฬิกาที่ทำเพลงได้และกล่องดนตรี (Musical Box) แต่นักฟังทั้งหลายก็ยังต้องออกจากบ้านไปฟังตามสถานที่ต่าง ๆ เช่นห้องบอลรูมในราชสำนัก เป็นต้น จนกระทั่งปี ค.ศ. 1877 เมื่อโธมัส เอดิสัน ค้นพบจานเสียงที่ทำด้วยแผ่นดีบุกทรงกระบอก และพัฒนาจนเป็นแผ่นเสียง (Phonograph) เช่นในปัจจุบัน ทำให้เกิดการปฏิวัติทางดนตรีก็ว่าได้ ดนตรีสามารถฟังที่บ้านได้ ต่อมาเมื่อปลายศตวรรษที่ “ Daid Caruso “ นักร้องเสียงเทนเนอร์ (Tenor) ผู้ยิ่งใหญ่ได้เซ็นสัญญากับบริษัทแผ่นเสียง เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1902 และท่านได้รับเงิน 100 ปอนด์เป็นค่าจ้างในการบันทึกเสียง อีก 20 ปีต่อมาแผ่นเสียงที่ท่านได้กลายเป็นเศรษฐี ฐานะของนักดนตรีเริ่มเปลี่ยนไป นักดนตรี นักร้อง กลายเป็นผู้มีชื่อเสียง และเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วโลก ในปี ค.ศ. 1910 เพลงคลาสสิกเป็นที่นิยมฟังกันทั่วโลก (เริ่มจากการอัดแผ่นเสียง) หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1920 ดนตรีแจ๊สก็เป็นที่นิยมตามมา ด้วยเทคโนโลยีอันก้าวไกลได้ทำให้การดูคอนเสิร์ทเป็นสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เสียงดนตรีที่ไพเราะและภาพการ แสดงคอนเสิร์ทสามารถหาดูได้ที่บ้าน ทั้งทาง วิทยุ โทรทัศน์ โดยผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น วีดีโอเทป แผ่นซีดี ดีวีดี เป็นต้น เอดิสันได้นำดนตรีมาสู่บ้าน ดนตรีคลาสสิกที่เคยจำกัดอยู่แต่ในราชสำนักในกรุงเวียนนา บัดนี้ได้แพร่หลายไปทั่วโลก คุณค่าแก่การฟังและอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของมนุษย์ชาติสืบไป



วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

Metallica



Metallica (pronounced /məˈtælɨkə/ ( listen)) is an American heavy metal band from Los Angeles, California, formed in 1981.
The band was founded when James Hetfield responded to an advertisement that drummer Lars Ulrich had posted in a local newspaper. The current line-up features long-time lead guitarist Kirk Hammett (who joined the band in 1983) and bassist Robert Trujillo (a member since 2003) alongside Hetfield and Ulrich. Notable previous members of the band include former lead guitarist Dave Mustaine (who later went on to found the band Megadeth) and former bassists Ron McGovneyCliff Burton and Jason Newsted. The band also had a long collaboration with producer Bob Rock, who produced all of the bands albums from 1990 to 2003 and served as a temporary bassist between the departure of Newsted and the hiring of Trujillo.
Metallica's early releases included fast tempos, instrumentals, and aggressive musicianship that placed the band as one of the founding "big four" ofthrash metal alongside SlayerMegadeth, and Anthrax.[1] The band earned a growing fan-base in the underground music community and critical acclaim, with its third album Master of Puppets (1986) described as one of the most influential and "heavy" thrash metal albums. Metallica achieved substantial commercial success with their eponymous fifth album (also known as The Black Album), which debuted at number one on the Billboard200. With this release the band expanded its musical direction resulting in an album that appealed to a more mainstream audience.
In 2000, Metallica was among a number of artists who filed a lawsuit against Napster for sharing the band's copyright-protected material for free without any band member's consent.[2] A settlement was reached, and Napster became a pay-to-use service. Despite reaching number one on the Billboard200, the release of St. Anger alienated many fans with the exclusion of guitar solos and the "steel-sounding" snare drum. A film titled Some Kind of Monster documented the recording process of St. Anger and the tensions within the band during that time.
Metallica has released nine studio albums, three live albums, five extended plays, 24 music videos, and 45 singles. The band has won nine Grammy Awards, and has had five consecutive albums debut at number one on the Billboard 200,[3] making Metallica the first band to do so; this record was later matched by the Dave Matthews Band.[4] The band's 1991 album, Metallica, has sold over 15 million copies in the United States, and 22 million copies worldwide, which makes it the 25th-best-selling album in the country.[5] In December 2009, it became the best-selling album of the SoundScan era, surpassing 1997's Come On Over by country artist Shania Twain.[6] The band has sold an estimated 100 million records worldwide as of the release of their latest album, Death Magnetic. As of December 2009, Metallica is the fourth best-selling music artist since the SoundScan era began tracking sales on May 25, 1991, selling a total of 52,672,000 albums in the United States alone.[7]